จากปกติที่ต้องใช้โปรแกรม OBS Studio ในการไลฟ์สตรีม พร้อมกับการเปิดโปรแกรม Streamlabel หรือหน้าเว็บของ Streamlabs ไว้ เพื่อดูว่าใครมากดติดตามหรือโดเนทเราบ้าง แถมต้องเปิดแชทเพื่ออ่านแชทไปด้วย ซึ่งอาจจะดูเยอะแยะและยุ่งยาก อยากเปิดโปรแกรมเดียวแล้วจบๆไปเลยสะดวกกว่า ตอนนี้ Streamlabs OBS แก้ปัญหาเหล่านี้ให้ทุกคนแล้ว!
ดาวน์โหลด Streamlabs OBS เวอร์ชั่นล่าสุดที่นี่
วิธีการใช้งาน
1. หลังจากดาวน์โหลดโปรแกรมและลงเรียบร้อยแล้ว จะขึ้นหน้าจอให้เราล๊อกอินแพลตฟอร์มที่เราจะใช้สตรีม
แต่ถ้าเราเลือก Setup later จะเป็นการใช้งานที่เหมือนกับการใช้ OBS Studio ดั้งเดิม และจะใช้งานในส่วนของ Theme กับ Dashboard ไม่ได้ด้วย ในที่นี้จะเลือกเป็น Twitch
1.เลือกแพลตฟอร์มที่จะใช้สตรีม |
2. ถ้าในเครื่องเรายังติดตั้ง OBS Studio ไว้ โปรแกรมจะโชว์ Scene ที่เราเคยตั้งค่าไว้ขึ้นมาให้Importได้ด้วย ในที่นี้จะเลือกImport Scenesเดิมที่มี หรือจะ Start Freshไปเลย หรือก็คือทำ Scene ใหม่เองเลยก็ได้ค่ะ ในที่นี่จะเลือกเป็น Start Fresh
2.สร้าง Scenesใหม่ |
3. หน้านี้จะขึ้นมาให้เราเลือกวิดเจ็ต เช่นพวก Alert Box ที่ใช้แจ้งเตือนตอนคนมากดติดตามหรือโดเนท ซึ่งเราไม่จำเป็นต้อง Add ก็ได้ค่ะ เพราะเดี๋ยวเราจะไปเลือกจาก Theme ที่โปรแกรมมีมาให้เอาเองจะง่ายกว่า ก็กด Setup later ข้ามไปเลย
3.เลือกวิตเจ็ตหรือSetup later ข้ามไปเลย |
4. หน้านี้เขาจะถามว่า จะให้โปรแกรมจัดการพวกการตั้งค่าต่างๆที่เหมาะสมกับอินเตอร์เนตและเสปคเครื่องที่คุณใช้อยู่มั้ย ตรงนี้แนะนำว่าจัดการเองแบบ Manual ดีกว่าค่ะ เพราะเคยลองเซตแล้ว เขาตั้งบิตเรทมาให้ตั้ง 6000 แน่ะ ดูๆแล้วยังไม่เวิร์คเท่าไหร่ ก็เหมือนเดิม Setup later ข้ามไปเลยยย
4.Optimize แนะนำให้Setup later ข้ามไป |
5. โปรแกรมจะพามาในส่วนของ EDITOR ซึ่งมีหน้าตาเหมือนกับ OBS Studio แบบดั้งเดิมเลย
5.หน้าต่าง Editor |
สำหรับมือใหม่คงจะจับต้นชนปลายไม่ถูก เพราะฉะนั้นไปที่เป้าหมายแรกของเราก่อนเลย ไปเลือก Theme ที่ต้องการมาใช้กันดีกว่าาา
วิธีใช้งานในส่วนของ Theme สำเร็จรูป SCENE THEME
NOTED : ส่วนของ SCENE THEME จะประกอบไปด้วย OVERLAY เช่น Webcam Frame (กรอบกล้องเว็บแคม) , Top Donate-Sub , Recent Donate-Sub , ภาพตอน OFFLINE - START STREAM ต่างๆ
1.หน้าต่าง THEME และส่วนของ SCENE THEME |
2. เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้กด Install Overlay มาได้เลย
2.Install Overlay |
3. เมื่อกดติดตั้งเสร็จ จะขึ้น OVERLAY ที่เราต้องการ
3. หน้าตาOVERLAY ที่เราต้องการ |
3.1 หลายคนอาจจะตกใจว่า Scene เดิมที่สร้างไว้หายไปไหน มันอยู่ตรงนี้นี่เองค่ะ แค่กดเลือกชื่อ Scene หลัก ก็จะกลับไปหน้าที่เราต้องการได้ ซึ่งเราสามารถเข้าไป Manage Scene หลักอื่นๆ ได้ด้วยโดยการกดที่ Manage all
ขอเรียกว่าในส่วนนี้ว่า "Sceneหลัก" เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้นนะคะ
3.1 Scene หลัก |
3.2 ส่วนตรงนี้คือ Scene ย่อย ที่จะประกอบไปด้วย Overlay ทั้งหมดที่เราเลือกติดตั้งมา กดดูได้เลยค่ะ
3.2 Scene ย่อย |
3.3 ส่วนของ Sources สามารถลากเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่ต้องการ หรือเปลี่ยนข้อความต่างๆได้ด้วยการดับเบิ้ลคลิก
3.3 ปรับแต่งในส่วนของSources |
หลังจากได้ Overlay มาแล้ว เราจะไปเลือกส่วนของ Widget ต่างๆมาใช้กันบ้าง
วิธีใช้งานในส่วนของ Theme สำเร็จรูป WIDGET THEMES
NOTED : Widgets จะประกอบไปด้วย Alert box (แจ้งเตือนตอนคนกดติดตามหรือโดเนท) , Event List , Chat box เป็นต้น
1. ในหน้า Editor ให้คลิกเลือกหน้า Sceneย่อย ส่วนที่เป็น Live Scene เอาไว้ก่อน
1.คลิกเลือกหน้า Sceneย่อย |
2. ไปที่แท๊ปที่ชื่อว่า THEME เหมือนเดิม แล้วเลือกที่ WIDGET THEMES ค่ะ
2.WIDGET THEMES |
2.1เราสามารถเลือกให้โชว์เฉพาะWidgetที่เราต้องการได้จากตรงนี้ รวมถึงสีที่ต้องการได้ด้วย
2.1เลือกให้โชว์เฉพาะWidgetที่เราต้องการได้ |
3. ก่อนการติดตั้ง เราสามารถเลือกเฉพาะWidgetที่เราต้องการใช้ได้จากตรงนี้ด้วยค่ะ หลักๆก็คงจะเป็น Alert Box , Goals , Event List
3.เลือกเฉพาะWidgetที่เราต้องการติดตั้ง |
4. Widget ที่เราเลือกก็จะมาอยู่ใน Sources ที่เราได้เลือก Scene ย่อยไว้ ก็ปรับเปลี่ยนตำแหน่งตามต้องการได้เลยค่ะ
4.ปรับเปลี่ยนตำแหน่งตามต้องการ |
4.1 ถ้าใครเจอปัญหา Event list หรือส่วนอื่นๆไม่โชว์ หรือโชว์แต่เป็นแค่ฟอนต์แปลกๆ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ส่วนของ Event list นั้น แล้วกดปุ่ม Refresh Cache Of Current Page จนกว่าจะขึ้นมา
4.1ปัญหา Event list หรือส่วนอื่นๆไม่โชว์ |
4.2 ดับเบิ้ลคลิกที่ Goals เพื่อเปลี่ยน Widget Type เป็นเป้าหมายที่ต้องการได้ตรงนี้ค่ะ เช่น Follower Goal , Donation , Subs หรือ Bit
4.2เปลี่ยน Widget Type เป็นเป้าหมายที่ต้องการ |
4.3 ถ้าไม่ต้องการส่วนไหน ให้กดตรงลูกตาเพื่อซ่อนไว้ได้ค่ะ ส่วนรูปกุญแจก็คือการล๊อคส่วนนั้นไว้ ป้องกันการคลิกผิดที่ได้
4.3ถ้าไม่ต้องการส่วนไหน ให้กดตรงลูกตาเพื่อซ่อนไว้ได้ |
5. มาลองทดสอบส่วนของ Alert Box กันค่ะ กดตรง TEST WIDGETS นี้เลย
5.ทดสอบส่วนของ Alert Box |
5.ทดสอบส่วนของ Alert Box |
เสร็จ!
ในส่วนของ Setting หน้าตาก็เหมือนกับ OBS Studio แบบเดิมๆเลย แต่จะมีส่วนอื่นๆเพิ่มเติมมาด้วย อันนี้จะทำไกด์ให้ดูกันในครั้งต่อไปนะคะ
ในส่วนของ Setting |
หน้าต่างตอนกำลัง Live จะมีทุกอย่างที่เราต้องเปิดไว้ รวมมาในโปรแกรมเดียวแบบนี้เลย คราวนี้ไม่ต้องไปเปิดหน้าเว็บ Streamlabs หรือ Streamlabel ไว้อีกแล้ววว
หน้าต่างตอนกำลัง Live |
แต่ด้วยความที่โปรแกรมกำลังพัฒนาอยู่ ก็จะยังมีบัคหรือส่วนที่ OBS Studio มี แต่ Streamlabs OBS ยังไม่มี เช่น ส่วนของ Mixer ที่ยังไม่สามารถ Boost เพิ่มเสียงไมค์แบบใน OBS Studio นั่นเองค่ะ
สุดท้าย ใครสงสัยขั้นตอนไหน หรืออยากให้สอนอะไรเพิ่มเติม คอมเม้นทิ้งไว้ได้เลยนะคะ 😇
Streamlab OBS Maxสุดแค่ 100% |
OBS Studio ปรับได้มากกว่า 100% |